วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างรูปเล่มรายงานโครงงาน

http://education.kapook.com/view16800.html
http://www.kknic.ac.th

การเขียนรายงาน

บทที่ 1 บทนำ
การเขียนบทนำรายงานนั้นในส่วนของย่อหน้าแรกเราควรเขียนเพื่อเกริ่นเนื้อเรื่องไปก่อนโดยยังไม่เข้าเนื้อเรื่อง แต่ควรพยายามพูดชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ หรือพูดที่มาที่ไป ก่อน เพื่อให้ผู้อ่านอยากติดตามต่อส่วนต่อมาควรกล่าวเริ่มเข้าเนื้อเรื่องของเราว่าเราจะทำรายงานเกี่ยวกับอะไร และมีเรื่องอะไรบ้าง หรือพูดถึงเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ก็ได้ และตอนสุดท้ายก็ปิดท้ายว่าทำเพื่ออะไรเพื่อประโยชน์กับใคร ที่จะได้มาอ่านบทความนี้และก็อาจกล่าวขอบคุณอาจารย์ผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายงาน และปิดท้ายด้วยการขอรับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้รายงานดีขึ้น
บทที่ 2 รายละเอียดของโครงงาน
เป็นการเขียนข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงาน โดยการสรุปเป็นองค์ความรู้ของตนเอง หรือคัดลอกข้อความจากหนังสือ โดยถ้าเป็นการสรุปองค์ความรู้เป็นของตนเอง ต้องอ้างอิงเอกสารที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมท้ายเล่มรายงาน แต่ถ้าเป็นการคัดลอกข้อความนั้นมา โดยไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อหา ให้อ้างอิงในการเขียนด้วย ซึ่งการอ้างอิงที่เป็นที่นิยมคือ การอ้างอิงแบบนาม – ปี และควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย จากนั้นต้องอ้างอิงในเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมท้ายเล่มรายงานด้วยเช่นกัน
บทที่ 3 หลักการและทฤษฎี
 เป็นการเขียนข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงาน  โดยการสรุปเป็นองค์ความรู้ของตนเอง  หรือคัดลอกข้อความจากหนังสือ  โดยถ้าเป็นการสรุปองค์ความรู้เป็นของตนเอง  ต้องอ้างอิงเอกสารที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมท้ายเล่มรายงาน  แต่ถ้าเป็นการคัดลอกข้อความนั้นมา โดยไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อหา  ให้อ้างอิงในการเขียนด้วย  ซึ่งการอ้างอิงที่เป็นที่นิยมคือ การอ้างอิงแบบนาม – ปี  และควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย  จากนั้นต้องอ้างอิงในเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมท้ายเล่มรายงานด้วยเช่นกัน
บทที่ 4 วิธีการดำเนินการ
อธิบายขั้นตอนการดำเนินการหรือขั้นตอนการทดลองโดยละเอียด
บทที่ 5 ผลที่ได้รับจากโครงงาน
ผลที่ได้จากการศึกษา   เขียนตามวัตถุประสงค์  ควรจะเสนอในรูปแบบตาราง  กราฟ  แผนภูมิ  หรืออื่นๆให้ดูง่าย
บทที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา  ให้เขียนผลการศึกษาอย่างสั้นๆ ให้ได้ใจความตรงตามจุดประสงค์ของการศึกษา  ถ้ามีการตั้งสมมุติฐาน  ควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้มา สนับสนุนหรือคัดค้านสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ข้อเสนอแนะ  ควรเขียนในลักษณะเสนอแนะวิธีการปรับปรุงการทดลองให้ดีขึ้น
บทที่ 7 ประโยชน์และแนวคิดในการพัฒนาโครงงาน
ให้บอกประโยชน์ที่ได้จากการทดลอง หรือจากการศึกษาเรื่องนั้นๆว่ามีประโยชน์อะไร  ด้านไหน  ให้เขียนเป็นข้อๆไป
บทที่ 8 บรรณานุกรมและภาคผนวก
บรรณานุกรมหรือหนังสืออ้างอิงหรือเอกสาร และเว็บไซต์ต่างๆ ที่นักเรียนใช้ค้นคว้า  ศึกษาหาข้อมูล  ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานนี้  รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงที่ใช้ในการทำโครงงานมีการเขียนได้หลายรูปแบบ ( ศึกษาได้จากรูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมท้ายตอนนี้) ภาคผนวก   คือ ส่วนประกอบที่เขียนเพิ่มเติมในตอนท้าย เพื่อช่วยให้เห็นความสมบูรณ์  ในข้อมูลเนื้อหา กระบวนการดำเนินงานและผลของการวิจัย อาจประกอบด้วย     แบบสอบถาม     แบบสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติที่เกี่ยวข้องอื่น นอกเหนือจากส่วนที่จัดไว้ในเนื้อหา สำเนาเอกสารหายาก โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ นอกจากนี้อาจมีรายละเอียดอื่น ๆ เช่น คำอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอน หรือวิธีทำภาพประกอบ การสร้างเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทดลอง   ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นในโครงงานนั้น ๆ สำหรับกรณีมีภาคผนวกหลายภาค ให้จัดเป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข และภาคผนวก ค ตามลำดับ และให้ขึ้นหน้าใหม่เมื่อขึ้นภาคผนวกใหม่ และพิมพ์หน้าบอกตอนสำหรับภาคผนวกนั้น ๆ ด้วย
บทที่ 9 คู่มือการใช้งาน
ได้แก่ รายละเอียดในการทำภาระงาน ชิ้นงาน หรือกิจกรรมอิสระที่ได้จากการทำโครงงานไปใช้ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ทรัพยากรหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน และข้อเสนอแนะในการใช้โครงงานนั้น

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างข้อสอบ O-Net

เว็บไซต์:
1.ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ม.6 ปีการศึกษา 2551
2.ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ ม.6 ปีการศึกษา 2551
ไฟล์เฉลยปีการศึกษา2551:http://forum.02dual.com/examfile/178topic/ONET52.doc

ตัวอย่างวิชาคณิตศาสตร์:
1. พิจารณาขอความตอไปนี้
 (ก) มีจํานวนตรรกยะที่นอยที่สุดที่มากกวา 0
 (ข) มีจํานวนอตรรกยะที่นอยที่สุดที่มากกวา 0
ขอสรุปใดตอไปนี้ถูกตอง
1. (ก) ถูก (ข) ถูก
2. (ก) ถูก (ข) ผิด
3. (ก) ผิด (ข) ถูก
4. (ก) ผิด (ข) ผิด
ตอบ 4. (ก) ผิด (ข) ผิด

2. ให A เปนเซตจํากัด และ B เปนเซตอนันต
ขอความใดตอไปนี้เปนเท็จ
1. มีเซตจํากัดที่เปนสับเซตของ A
2. มีเซตจํากัดที่เปนสับเซตของ B
3. มีเซตอนันตท ี่เปนสับเซตของ A
4. มีเซตอนันตที่เปนสบเซตของ ั B
ตอบ 3. มีเซตอนันตท ี่เปนสับเซตของ A

3. พิจารณาผลตางระหวางพจนของลําดับ 2,5,10,17,26,.... โดยการใหเหตุผล
แบบอุปนัย พจนที่ 10 ของลําดับคือขอใดตอไปนี้
1. 145
2. 121
3. 101
4. 84
ตอบ 3. 101

4. กําหนดให A ={1,2} และ B ={a ,b) คูอันดับในขอใดตอไปนี้
 เปนสมาชิกของผลคูณคารท ีเชียน A× B
1. (2,b)
2. (b,a)
3. (a ,1)
4. (1,2)
ตอบ 1. (2,b)

5. ในการสํารวจความชอบในการดื่มชาเขียวและกาแฟของกลุมตวอย ั าง 32 คน
พบวา ผูชอบดื่มชาเขียวมี 18 คน ผูชอบดื่มกาแฟมี 16 คน ผูไมชอบดื่มชาเขียว
และไมชอบดื่มกาแฟมี 8 คน จํานวนคนที่ชอบดมชาเข ื่ ียวอยางเด  ียวเทากบขั อใด
ตอไปนี้
1. 6 คน
2. 8 คน
3. 10 คน
4. 12 คน
ตอบ 2. 8 คน

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โครงงาน เรื่อง เกาะแสมสาร




ประโยชน์ของการทำโครงงาน

1.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดเรียงรูปแบบของโครงงาน
2.ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว
3.ได้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ
4.ทำให้เกิดความสามัคคีกันในการช่วยกันทำงาน
5.ทำให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

ผลกระทบของไอทีด้านลบ

ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านลบ

(Impact of Information Technology 

on the negative side)

เด็กจิ๋วติด'แท็บเล็ต'อันตรายป่วยเรื้อรัง

เด็กจิ๋วติด'แท็บเล็ต'...อันตรายป่วยเรื้อรัง : ทีมข่าวรายงานพิเศษ

เด็กจิ๋วติด'แท็บเล็ต'อันตรายป่วยเรื้อรัง

              สืบเนื่องจากข่าวใหญ่ในประเทศอังกฤษ กรณีเด็กหญิงอายุแค่ 4 ขวบมีอาการติดไอแพดอย่างรุนแรง จนต้องเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองในเมืองไทยเริ่มกลัวจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกัน จากนโยบายแจก “1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน” อาจส่งผลทำให้เด็กชั้นป1.ทั่วประเทศไทยได้รับแจกแท็บเล็ตไปแล้วไม่ต่ำกว่า 8.6 เครื่อง ซึ่งการเล่นติดต่อกันหลายชั่วโมงจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจเด็กกลุ่มนี้ในอนาคต

              นายวันชัย บุญประชา กรรมการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่าขณะนี้ผู้ปกครองสมาชิกเครือข่ายฯ ผู้มีลูกเรียนอยู่ป.1และได้รับแจกแท็บเล็ตแล้วตั้งแต่เทอมแรกของปีการศึกษา 2555 นั้น กำลังช่วยกันเก็บข้อมูลว่าการเล่นแท็บเล็ตหรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก จะส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างไร โดยเฉพาะด้านจิตใจ เช่น อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออก ฯลฯ ทางด้านร่างกายจะเน้นสุขภาพสายตาของเด็กว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง

              ส่วนกรณีปัญหาที่เกิดกับเด็กหญิงวัย 4 ขวบในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษที่ติดการเล่นไอแพดหรือแท็บเล็ตยี่ห้อหนึ่งอย่างมาก ต้องเล่นวันละไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง หากไม่ได้เล่นจะร้องไห้ หงุดหงิด อารมณ์ไม่ดีนั้น นายวันชัย กล่าวว่า ปัจจุบันในเมืองไทยมีเด็กเล็กเล่นสื่อคอมพิวเตอร์จำนวนมากขึ้น ทางเครือข่าย ฯ พยายามให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของเครื่องเล่นประเภทนี้ รวมถึงการต่อต้านโครงการแจกแท็บเล็ตให้เด็กป.1ของรัฐบาลด้วย แต่ไม่ได้รับการตอบรับ ยังคงมีการแจกต่อไป ส่วนตัวแล้วคิดว่าเด็ก ป.1 ควรใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติ วิ่งเล่นใต้สายลมและแสงแดดมากกว่าจะก้มหน้าเล่นแท็บเล็ตทั้งวัน แม้มีประโยชน์ในการคุ้นเคยและรู้วิธีใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่จะส่งผลร้ายให้เด็กในอนาคต หากพ่อแม่ไม่มีความรู้ในการควบคุมดูแลอย่างถูกต้อง

              "รัฐบาลแจกแท็บเล็ตให้เด็กป.1ผ่านไปไม่ถึง 6 เดือน อาจยังไม่เห็นผลร้ายต่อร่างกายและจิตใจเด็กอย่างชัดเจน คงต้องช่วยกันเฝ้าดูว่าผลระยะยาวจะออกมาอย่างไร ส่วนระยะเวลาการเล่นของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน บางโรงเรียนที่ใส่ใจเด็กจะเก็บแท็บเล็ตไว้ที่โรงเรียนไม่ให้เอากลับบ้าน และให้เด็กใช้บางชั่วโมงเรียนเท่านั้น เพื่อควบคุมไม่ให้เด็กติดมากเกินไป แต่บางโรงเรียนไม่สนใจ ให้เด็กเอากลับบ้านไปเล่นเต็มที่ ซึ่งอันตรายมาก อยากให้ครูและพ่อแม่ช่วยกันสอดส่องดูแลว่าเด็กๆ ใช้เวลาเล่นมากเกินไปหรือไม่ " นายวันชัยกล่าวเตือน

              ทั้งนี้  แท็บเล็ต พีซี :Tablet PC (Tablet personal computer) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลพกพาได้ ขนาดเท่าสมุดโน้ตมีหน้าจอใช้นิ้วสัมผัสเพื่อสั่งงาน พร้อมอุปกรณ์ไร้สายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายไวไฟ ในเมืองไทยมีขายหลายยี่ห้อ เช่น ไอแพด แกแล็กซี่ สโคป โซนี่ เอเซอร์ ฯลฯ แม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ แต่นักจิตวิทยาก็อดห่วงถึงโทษภัยของมันไม่ได้ โดยเฉพาะกับเด็กๆ แท็บเล็ตอาจเป็นแหล่งเชื้อโรค หรือสิ่งที่มาเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้เด็กขี้หงุดหงิด ผลการเรียนตกต่ำ !!

              นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า พฤติกรรมติดแท็บเล็ตของเด็กเล็กและเด็กวัยรุ่นนั้น ไม่ต่างจากการติดเกมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ การพิจารณาว่าเด็กมีอาการติดสื่อเหล่านี้จนถึงขั้นรุนแรงหรือไม่นั้น ต้องเฝ้าสังเกต 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 1. "ระยะเวลา" ในการเล่น หากเล่นเกินวันละ 3 ชั่วโมงถือว่าอันตราย 2. "อารมณ์" หากไม่ได้เล่นจะอารมณ์เสีย หงุดหงิด ร้องไห้ หรือเมื่อเล่นแล้วไม่ยอมพูดจากับคนอื่นหรือไม่ 3. "พฤติกรรม" เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ชอบหาเรื่องทะเลาะกับคนในครอบครัว ไม่อยากเจอเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องผลการเรียน ผลสอบแย่ลงเรื่อยๆ แสดงว่าเด็กติดเกินไปแล้ว หากมีอาการติดอย่างหนัก ควรพามาพบผู้เชี่ยวชาญให้ช่วยกันหาวิธีเยียวยา ในแต่ละเดือนมีผู้ปกครองพาเด็กกลุ่มนี้มาเข้ารับการรักษาที่สถาบันฯ เป็นคนไข้รายใหม่ประมาณเดือนละ 10-20 ราย

              "ต้องดูจากหลายปัจจัย เพราะเด็กบางคนถึงจะเล่นวันละหลายชั่วโมง แต่ไม่ได้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อารมณ์ดีเหมือนเดิม ยังพูดคุยเล่นกับเพื่อนตามปกติ แต่บางคนไม่ได้เล่นจะหงุดหงิด ไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น หากผลการเรียนแย่ลงด้วย ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด พยายามหากิจกรรมอื่นให้ทำ พ่อแม่ควรปรับปรุงตัวเองด้วย เพราะบางคนไม่มีเวลาเล่นกับลูก ไม่รู้ว่าจะให้เด็กใช้เวลาอย่างไรให้ถูกต้อง การรักษาเด็กติดสื่อคอมพิวเตอร์เหล่านี้ต้องหาต้นเหตุของปัญหาให้เจอ แล้วค่อยๆ ปรับพฤติกรรมของเด็ก"

              สำหรับระยะเวลาการเล่นสื่อเทคโนโลยีให้เหมาะสมนั้น นพ.ทวีศิลป์ แนะนำว่า ไม่ควรเกินวันละ 1 ชั่วโมงสำหรับเด็กเล็ก โดยแบ่งเป็นครั้งละ 30 นาที เนื่องจากอวัยวะของเด็กเล็กควรมีการเคลื่อนไหวทุกสัดส่วน การนั่งก้มหน้าเล่นแท็บเล็ตนานๆ จะส่งผลเสียต่อต้นคอ มือ และสายตา ควรอนุญาตให้เล่นหลังจากทำการบ้านหรือไปออกกำลังกายเสร็จแล้ว ถือเป็นรางวัลพิเศษ

              ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยา โครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ยอมรับว่าขณะนี้ปัญหาเด็กติดไอแพดหรือแท็บเล็ตกำลังสร้างความปวดหัวให้กับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ล่าสุดมีญาติๆ มาปรึกษากับตนว่าลูกหลานป่วยบ่อย เป็นหวัดไม่สบายเกือบทุกเดือน เมื่อเข้าไปศึกษาชีวิตประจำวันของเด็กกลุ่มนี้แล้ว พบว่าชอบนั่งเล่นไอแพดทั้งวัน ไม่ยอมทำอย่างอื่น ร่างกายจึงอ่อนแอ เนื่องจากธรรมชาติของเด็กเล็กต้องเคลื่อนไหวแขน ขา และเท้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรอยู่นิ่งๆ นั่งในท่าเดิมนานๆ เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อของร่างกาย หากเด็กไม่เคลื่อนไหวร่างกายก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ ไม่มีภูมิต้านทานเชื้อโรค ทำให้ป่วยบ่อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ

              "เด็กบางคนมีอาการนอนกรนเสียงดังจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะร่ายกายเหนื่อยล้ากับการใช้สายตาจับจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละหลายชั่วโมง การที่เด็กนั่งเฉยๆ ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะไม่เหนื่อย เพราะถ้าต้องใช้สมองหรือใช้สมาธิจดจ้องอะไรต่อเนื่องนานๆ ร่างกายก็เหนื่อยล้าเช่นกัน เด็กเล็กควรใช้กำลังมากกว่าใช้สมอง พ่อแม่บางคนชอบให้ลูกเล่นของพวกนี้ เพราะจะได้นั่งนิ่งๆ อยู่เฉยๆ ไม่รบกวนวุ่นวาย หากลูกหลานใครมีอาการป่วยบ่อยให้ลองสังเกตว่าติดเครื่องเล่นพวกนี้หรือไม่ เล่นวันหนึ่งเกิน 1-2 ชั่วโมงหรือเปล่า วิธีแก้ไขเบื้องต้นต้องพาไปทำกิจกรรมอย่างอื่น เล่นกีฬา ดนตรี วิ่งเล่นกับเพื่อนๆ" ดร.วัลลภ กล่าวแนะนำ

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การศึกษาตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์

ชื่อเว็บ : http://www.vcharkarn.com/project/488

ชื่อโครงงาน : เกมส์เทศบาลแมน Tassabanman game

เนื้อหาสาระสำคัญ :
ขณะนี้โลกเรากําลังประสบกบปัญหาภาวะโลกรอน ซึ่งสวนหนึ่งของปญหานี้ก็เกิดจากขยะลนเมือง และเกิดจากฝมือของมนุษยเราที่ไมรูจักทิ้งขยะใหเป็นที่เป็นทาง การใชแต่ถุงพลาสติก การไมคัดแยกขยะตามประเภทของขยะที่ควรจะเป็น  เกมสนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการคัดแยกขยะแตละประเภท ใหถูกตองเปนหมวดหมูทําใหผูเลนเกิดนิสัยการรักสะอาดไปในตัว เหตุผลที่สรางเกมสนี้ขึ้นมาเพื่อตองการใหปลูกฝงนิสัยผูเลนในการคัดแยกขยะใหถูกประเภทและสามารถนํามาใชปฏิบัติในชีวิตประจําวัน เพื่อที่จะได้ชวยกันรักษาความสะอาดให้กับที่อยูอาศัยของเราได

โปรแกรมที่ใช้สร้าง : 

- Autodesk 3 ds max 8 ใชในการสรางรูปภาพตาง ๆ ในเกมสเพื่อให เกิดความสวยงาม

- Macromedia Flash 8 ใช้ทำภาพใหเคลื่อนไหวและสรางตัวอักษรเคลื่อนไหวในเกมส

- Ulead Video Studio 10 ใชในการแตงเสียงและตัดตอภาพเคลื่อนไหวตาง ๆ

- Microsoft Visual Basic 6.0 ใชในการเขียน Data

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 4

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่        
          1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
          4. การลงมือทำโครงงาน
          5. การเขียนรายงาน
          6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน


1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้
          1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
          2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
          3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
          4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
          5. งานอดิเรกของนักเรียน
          6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
          1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
          2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
          3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
          4. มีเวลาเพียงพอ
          5. มีงบประมาณเพียงพอ
          6. มีความปลอดภัย

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
          1. จะทำ อะไร
          2. ทำไมต้องทำ
          3. ต้องการให้เกิดอะไร
          4. ทำอย่างไร
          5. ใช้ทรัพยากรอะไร
          6. ทำกับใคร
          7. เสนอผลอย่างไร

3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน

4. การลงมือทำโครงงาน
          เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
     4.1 การเตรียมการ
          การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
     4.2 การลงมือพัฒนา
          1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
          2. จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
          3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน
     4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
          การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
     4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
          เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
     4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
          เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้ 

5. การเขียนรายงาน
          การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
     5.1 ส่วนนำ
          ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
          5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
     5.2 บทนำ
          บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
          1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
          3. ขอบเขตของโครงงาน
     5.3 หลักการและทฤษฎี
          หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
     5.4 วิธีดำเนินการ
          วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน
     5.5 ผลการศึกษา
          ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก
     5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
     5.7 ประโยชน์
          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย
     5.8 บรรณานุกรม
          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
     5.9 การจัดทำคู่มือการใช้งาน
          หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อผลงาน
          2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
          3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
          4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
          5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ  

6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
          การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
          6. การสาธิตผลงาน
          7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 3


สื่อการเรียนรู้สามารถจำแนกออกตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัวหนังสือที่เป็นตัวเขียน หรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ


2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น


3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่
     3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและ ประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น แพทย์ ตำรวจ นักธุรกิจ เป็นต้น

     3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

     3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์และ การประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การทำโครงงาน เกม เพลง เป็นต้น

     3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น หุ่มจำลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น


แหล่งที่มา : การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนรู้

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 2

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ

ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
         

ใบงานที่ 1


1.โครงงาน (Project) หมายถึงอะไร
 -ความหมายภาษาไทย
           โครงงานหมายถึง กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นใดไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้นๆ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินการ วางแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน โดยทั่วๆ ไป การทำโครงงานสามารถทำได้ทุกระดับการศึกษา ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน อาจเป็นโครงงานเล็กๆ ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรือเป็นโครงงานใหญ่ที่มีความยากและซับซ้อนขึ้นก็ได้
 -ความหมายภาษาอังกฤษ
         a planned piece of work that has a specific purpose (such as to find information or to make something new) and that usually requires a lot of time

2. โครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร ?
         โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ โดยนักเรียนจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ความรู้ กระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

3. ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์  มีกี่ประเภทอะไรบ้าง?
         มี 5 ประเภทได้แก่
     1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
     2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
     3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
     4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
     5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)




วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จรรยาบรรณผู้ใช้อินเทอร์เน็ต


                ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย  เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด
                ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของ  เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์
                เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก  การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง  ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย               
               การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
                เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข  Arlene  H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก  จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเลคโทรนิึกส์ E-mail

             ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย  ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่      บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด  จะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธการรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม
                ดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้
  • ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนด
  • ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด
  • ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง
  • พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย

จรรยาบรรณ สำหรับการสนทนาสื่อสารบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต Chat

               บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมี โปรแกรมระบบการสนทนาสือสารพูดคุยออนไลน์ เช่น MSN เป็นต้น ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่
  • ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย  หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้
  • ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้  เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
  • หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
  • ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น

จรรยาบรรณ สำหรับผู้ใช้กระดาษข่าว webboard

                ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ  ข่าวสารต่าง ๆ ที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก ผู้ใช้บริการบนกระดานข่าวจะต้องเคารพกฏกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่
  • ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้
  • ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
  • ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า
  • ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ
  • จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล
  • ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก
  • ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่อง การค้า
  • การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ  ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
  • ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก
  • หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่พอใจในการเน้น คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน
  • ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
  • ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว
  • ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
  • ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา
  • ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
  • การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก
  • ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น
  • ในการบอกรับข่าวด้วย mailing  list  และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก

บัญญัติ 10 ประการ ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์

                ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
  1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
  2. ไม่รบกวนการทำงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
  3. ไม่สอดแนมเปิดดูหรือแก้ไขแฟ้มของผู้อื่น
  4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
  5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
  6. ไม่คัดลอกซอฟต์แวร์ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
  7. ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
  8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์สินทางปัญญา/ผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
  9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมตามมา จากการกระทำของตน
  10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท ของสถานที่นั้นๆ
            

จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ

               ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน
เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน



บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail หรือ Electronic mail)


    บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยการพิมพ์จดหมายในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) หรือสาย LAN (Local area network) ในองค์กร ไปให้เพื่อนได้ง่าย โดยไม่ใช้แสตมป์ และส่วนใหญ่จะถึงผู้รับในเกือบทันที สามารถส่งภาพ หรือเสียง แม้แต่แฟ้ม Video เช่น Mpeg หรือ AVI เป็นต้น สำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่ไปเยี่ยมบ้านในต่างจังหวัด สามารถส่งผลงานให้อาจารย์ หรือเพื่อน ที่อยู่ในอีกจังหวัดหนึ่งได้ พ่อแม่ที่อยู่เมืองไทย อาจส่งจดหมายไปคุยกับลูกที่ Texas หรือ London ได้ พ่อค้าสามารถใช้ e-mail สอบถามราคา หรือตกลงซื้อขายกับลูกค้า
    POP3 (Post Office Protocol 3) คือมาตรฐานหนึ่งของ Mail server เพื่อให้บริการผู้ใช้สามารถอ่าน e-mail จากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน และเก็บ e-mail ไว้อ่านแม้ไม่ได้ online แต่การอ่าน mail วิธีนี้ต้องกำหนด SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) เพื่อใช้สำหรับการส่ง e-mail ที่เขียนใหม่ หรือตอบจดหมาย โปรแกรมที่นิยมใช้อ่าน e-mail เช่น Outlook, Eudora หรือ Netscape mail เป็นต้น เว็บที่ให้บริการเช่น softhome.net, siammail.com หรือ hotpop.com เป็นต้น สำหรับวิธีการติดตั้งค่า หรือข้อกำหนด อ่านได้จาก http://www.siammail.com/email_m.htm หรือ http://www.softhome.net/help/pop.html ปัญหาใหญ่ของบริการนี้คือ อ่าน e-mail จากเครื่องที่ไม่ได้ใช้ประจำได้ลำบาก เช่นเดินทางไปต่างจังหวัด แต่ต้องการเปิด e-mail ฉบับเดิมที่เคยเขียน หรือต้องการข้อมูลจากสมุดที่อยู่ (Address book) เป็นต้น
    Web-based e-mail คือบริการให้ผู้ใช้สามารถอ่าน e-mail จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อาจมีผู้ใช้หลายคน เช่นในห้องปฏิบัติการ หรือร้าน internet ได้สะดวก โดยใช้ Browser เช่น IE, Netscape, Neoplanet หรือ Opera เป็นต้น เมื่ออ่านแล้วจะไม่มีข้อมูลเหลืออยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นอีก เพราะทุกอย่างถูกเก็บที่ Mail server เว็บที่ให้บริการเช่น hotmail.com, yahoo.com, lampang.net, chaiyo.com, thaimail.com หรือ thaiall.com เป็นต้น ปัญหาใหญ่ของบริการนี้คือ จำกัดขนาดของ e-mail จึงต้องอ่าน และลบ e-mail เสมอ หรือ มีป้ายโฆษณา(Advertising banner) ขึ้นมากวนใจ แต่มีตัวเลือกให้จ่ายเงิน เพื่อไม่ให้แสดงป้ายโฆษณา และเพิ่มบริการที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้มากขึ้น
2 เว็บไซต์(Web site) และบริการสืบค้น(Search engine)

    นายเบอร์เนอร์ ลี(Berners-Lee) แห่ง CERN ได้พัฒนา HTTP (HyperText Transfer Protocol) ตั้งแต่ปีพ.ศ.2533(ค.ศ.1990) ทำให้เกิดบริการ WWW(World Wide Web) ที่สามารถเปิดดูข้อมูลได้ทั้งภาพ และเสียง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเว็บไซต์อย่างทุกวันนี้ โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IP ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสื่อสารกันได้ทุกระบบ
    เมื่อต้องการข้อมูล การเข้าไปยัง web site เพื่อหาข้อมูล จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น เพราะสะดวก และเร็วกว่าการไปที่ห้องสมุด ปัจจุบันมีเว็บให้บริการสืบค้น เหมือนตู้บัตรรายการ ที่ผู้เขียนแนะนำ 4 เว็บ คือ google.com, alltheweb.com, yahoo.com และ siamguru.com ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้ทราบว่ามีเว็บใด มีข้อมูลตาม คำสืบค้น(Keyword) ที่ระบุ โดยหาได้ทั้งข้อมูลเว็บไซต์ ภาพ และแฟ้มข้อมูล
    ตัวอย่างการสืบค้นข้อมูลเช่น ต้องการหาว่า วิทยาลัยโยนก มีเว็บไซต์ชื่ออะไร หรือเว็บใดมีข้อมูลบ้าง สามารถเข้าไปที่ http://www.alltheweb.com แล้วพิมพ์คำว่า วิทยาลัยโยนก ในช่องว่าง แล้วกดปุ่ม Search จะพบชื่อเว็บ และคำอธิบายข้อมูลของวิทยาลัยโยนก เว็บแรกที่พบก็คือ http://www.yonok.ac.th เป็นต้น
    ข้อมูลจากเว็บไซต์มีทั้งภาพ และเสียง ซึ่งรวมไปถึงแฟ้มทั้งหมดที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ เช่นแฟ้มที่มีนามสกุล zip, doc, pdf, xls, mdb หรือ mp3 เป็นต้น จึงไม่จำกัดว่า เปิดเว็บเพื่อดูข้อมูล ภาพ หรือเสียง เพราะบางองค์กร ได้ส่งแฟ้มข้อมูลที่เป็น Microsoft access (.mdb) ให้กับผู้สนใจได้ download หรือหน่วยงานของรัฐบางแห่ง ส่งแฟ้ม Microsoft excel (.xls) ซึ่งเก็บข้อมูลสถิติให้ประชาชนได้นำไปใช้ประโยชน์
    เว็บไซต์(Web site) หมายถึงแหล่งรวมเว็บเพจทั้งหมด เช่นเว็บไซต์ของวิทยาลัยโยนก ก็คือการรวมทุกเว็บเพจ ที่อยู่ภายใต้ชื่อ http://www.yonok.ac.th คำว่าโฮมเพจ(Home page) หมายถึงเว็บเพจหน้าแรก โดยปกติจะหมายถึงแฟ้ม index.html ส่วนคำว่าเว็บเพจ(Webpage) คือหน้าเอกสารข้อมูลแต่ละหน้า ที่อยู่ในเว็บไซต์ เช่น กระดานข่าว ข้อมูลหลักสูตร หรือข้อมูลบุคลากร เป็นต้น
    3 ไออาซี (IRC - Internet relay chat)

      บริการที่ทำให้คนทั่วโลกสามารถคุยกันผ่านแป้นพิมพ์ พร้อมกันหลายคน หรือจะกระซิบคุยกัน 2 คนก็ได้ โดยเลือกห้องที่ตนสนใจ และในห้องนั้นจะมีผู้ได้รับสิทธิ์ในการดูแล หากผู้ใดประพฤติตัวไม่เหมาะสมกับกลุ่ม ก็จะถูกขับออกไป การที่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่วัยรุ่น ก็เพราะพวกเขาสามารถคุยเปิดใจกับใครก็ได้ โดยไม่ต้องบอกชื่อจริง หรือจะโกหกก็ไม่มีใครทราบ ในผู้ใช้บางกลุ่มจะสร้างสังคม และติดต่อสื่อสาร เพื่อช่วยเหลือสมาชิก มีการนัดพบปะสังสรรค์ แต่มีด้านดีก็ย่อมมีด้านเสีย เพราะบางคนอาจสนใจจะใช้ IRC หาเพื่อนเพียงอย่างเดียว โดดเรียน ไม่อ่านหนังสือ นั่งคุยกันได้จนดึก บางครั้งอาจถูกผู้ไม่หวังดีหลอกลวง โดยไม่พิจารณาข้อมูลที่ได้รับ จนก่อให้เกิดความเสียหาย โปรแกรมที่ได้รับความนิยมคือ PIRCH และ MIRC เป็นต้น เว็บที่หาข้อมูลเรื่องนี้ได้คือ pirchat.com, pirch.com, mirc.com, thaiirc.in.th, irc.narak.com, irchelp.org และ irc.org เป็นต้น
    4 ไอซีคิว (ICQ)

      คำว่า ICQ ออกเสียงเหมือน "I seek you" ถ้าท่านให้ฝรั่งพูดคำว่า "I seek you" อย่างเร็ว คนไทยฟังแล้ว จะได้ยินเสียงเหมือนพูดคำว่า ICQ และนี่ก็คือที่มาของชื่อโปรแกรม ที่นิยมใช้กันทั่วโลก
      บริการนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สามารถที่จะคุยกับเพื่อนได้สะดวก เพราะโปรแกรมจะแสดงรายชื่อของเพื่อน เมื่อมีการเปิดเครื่องขึ้น จะแสดงสถานะให้ทราบว่าเพื่อนคนใดพร้อมรับข้อความ และสามารถคุยได้คล้ายโปรแกรม IRC แต่ ICQ จะมีความเฉพาะเจาะจงกว่า เพราะทุกคนจะมีเลขประจำตัว 1 เลขเสมอ สำหรับผู้เขียนได้เลข 20449588 ซึ่งทั้งโลกนี้มีผู้เขียนคนเดียวที่ได้เลขนี้
      ความสามารถของ ICQ นอกจากการคุยกับเพื่อนผ่านแป้นพิมพ์ การส่งข้อความในกรณีที่ผู้รับไม่อยู่ ข้อความก็จะถูกฝากไว้ที่ server เหมือน e-mail เมื่อผู้รับกลับมาเปิด ICQ จะได้รับข้อความ และบริการ ICQPhone ทำให้ใช้ไมโครโฟน(Microphone) และลำโพง(Speaker) ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ คุยกับเพื่อน จากคอมพิวเตอร์ ถึงคอมพิวเตอร์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพียงแต่เครื่องทั้ง 2 จะต้องมีไมโครโฟน ลำโพง และความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม แต่ถ้าต้องการโทรเข้าโทรศัพท์บ้านก็ทำได้ แต่เป็นบริการเสริมที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นนาที นอกจากนี้ยังสามารถอ่าน e-mail จาก POP server ได้หลาย server เมื่อมี e-mail เข้ามาใหม่ โปรแกรมจะส่งเสียงเตือนให้ทราบทันที สามารถส่งข้อความเข้ามือถือของเพื่อนด้วยบริการ SMS หรือ ส่งแฟ้ม เพลง ภาพให้เพื่อนก็ทำได้
      บริษัท Mirabilis ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2539(ค.ศ.1996) เพื่อให้บริการ ICQ สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิก มีสมาชิกในปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 160 ล้านคน ต่อมาบริษัทถูกซื้อโดย AOL(American online) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2541(ค.ศ.1998) เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ICQ คือ icq.com, thaiicq.com, icqplus.org และ 1001icqskins.com เป็นต้น
      คู่แข่งที่น่าจับตาของ ICQ คือ Hotmail messenger และ Yahoo messenger เพราะมีบริการที่ใกล้เคียงกับ ICQ และได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นทางเลือกที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นของใหม่ ใช้ร่วมกับระบบ e-mail ได้ดี และแปลกกว่าเดิม ซึ่งเป็นปกติของมนุษย์ ที่ชอบของใหม่ ฟรี มีประโยชน์ และน่าเชื่อถือ 

    5 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)

      วิธีการหนึ่งที่เอื้อให้การค้าขายเกิดขึ้น เป็นการใช้ประโยชน์จากอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินในปัจจุบันเช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการประชุมทางไกล เป็นต้น
      ความหมายที่กระชับขึ้นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือกิจกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการนำเสนอข้อมูล การประมวลผล และการส่งข้อมูลดิจิตอล ที่มีทั้งข้อมูลอักษร ภาพ และเสียง
    6 การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-learning หรือ Electronic learning)

      บริการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนหนังสือ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปนั่งในชั้นเรียน แต่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ จะเรียนที่ไหน (Anywhere) เมื่อใด(Anytime) ก็ได้ ผู้เรียนสามารถนั่งเรียนด้วยตนเอง แบบเป็นขั้นตอนบทต่อบท หากสงสัยก็สามารถติดต่อสอบถามจนเข้าใจ และมีการสอบวัดผล เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ โดยสรุปแล้วการเรียนแบบ Online มักมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ เผยแพร่ความรู้เป็นขั้นตอน(Follow by contents), มีการสอบวัดผล ประเมินผล(Evaluation), มีระบบตอบข้อซักถาม(Reply the student question) และมีการบริหารจัดการ(Management Education System) สำหรับเว็บที่เกี่ยวข้องเช่น thai2learn.com, learn.in.th, onlinetraining.in.th, nectec.or.th/courseware, elearningmag.com และ elearningexpos.com เป็นต้น
      ถ้าท่านคิดจะทำ e-learning เพื่อให้บริการ ก็อย่าไปยึดติดกับลักษณะ 4 ข้อข้างต้น เพราะสิ่งที่ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์เสมอไป ขอเพียงท่านรวบรวมข้อมูล นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการจัดระเบียบให้เป็นหมวดหมู่ ไม่ผิดพลาด ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตอบข้อซักถามผู้เรียน และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ก็ยอดเยี่ยมแล้ว
    7 ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์(E-banking หรือ Electronic banking)

      ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่ให้บริการโดยธนาคาร เริ่มเปิดช่องทางอื่น นอกจากการไปติดต่อด้วยตนเองที่ธนาคาร หรือการทำรายการจากตู้ ATM ในแบบเดิม ทุกวันนี้ท่านสามารถใช้โทรศัพท์มือถือ ติดต่อเข้าไปชำระค่าสินค้า และบริการ หลายธนาคารเปิดให้สามารถโอนเงิน ระหว่างบัญชีผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับผู้เขียน สามารถตรวจสอบยอดในบัญชี ที่ให้บริการโดยธนาคารไทยพาณิชย์ ผ่านเว็บ scbeasy.com และในปีพ.ศ.2545 เป็นปีแรกที่กรมสรรพากร เปิดให้มีการยื่นแบบฟอร์มชำระภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.91 ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งสร้างความสะดวกให้กับประชาชนอย่างมาก
      หลายท่านที่ใช้โทรศัพท์มือถือในระบบจีเอสเอ็ม แอดวานซ์ สามารถใช้บริการ mBANKING จาก mobileLIFE เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารได้หลายแห่ง เช่น เรียกดูยอดเงินในบัญชี โอนเงินระหว่างบัญชี ชำระค่าสินค้า หรือเรียกดูอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
      http://www.scbeasy.com 

    8 โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต (Internet Phone)

      บริการโทรศัพท์ฟรี จากคอมพิวเตอร์ไปเข้าโทรศัพท์บ้านในอเมริกาเคยมี แต่บริการเหล่านั้นได้หายไป เหลือเพียงบริการที่มีราคาถูกมาก บางเว็บให้บริการโทรเข้าอเมริกาเพียงนาทีละ 2 cent เท่านั้น แต่ถ้าใช้ ICQ จะสามารถโทรจากคอมพิวเตอร์ถึงคอมพิวเตอร์ได้ฟรี แต่ถ้าต้องการโทรศัพท์เข้าบ้านในประเทศต่าง ๆ สามารถตรวจสอบบริการของเว็บเหล่านี้ได้ เช่น net2pone.com, mediaring.com, iconnecthere.com, hottelephone.com และ dialpad.com เป็นต้น










    9 เกมออนไลน์ (Game online)


      เด็กชอบเล่นเกม ปัจจุบันเกมถูกพัฒนาไปมาก ไม่จำเป็นต้องไปซื้อโปรแกรมเกมจากร้าน มาติดตั้งในเครื่องอีกต่อไป เพราะท่านสามารถเลือกเกม เล่นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ทันที และมีเว็บที่ให้บริการอยู่มากมาย แต่ถ้าเล่นคนเดียวแล้วเบื่อ ก็สามารถเล่นแบบเป็นกลุ่มกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตท่านอื่น ที่ติดต่อเข้ามาในระบบ มีผู้นักเล่นเกมมากมาย ที่พร้อมจะเล่นกับท่าน

    10 เอฟทีพี (FTP - File Transfer Protocol)

      FTP คือ การรับ - ส่งแฟ้มไปยังเครื่องที่ให้บริการ ปัจจุบันมีโปรแกรม WS_FTP (http://www.ipswitch.com) หรือ CUTE_FTP (http://www.globalscape.com) ที่ทำให้ส่งแฟ้มหลายแฟ้มไปยังเครื่องบริการได้สะดวก ต่างกับการ Upload หรือ Download แฟ้มที่จำกัดจำนวนแฟ้มในการส่งต่อครั้ง ผ่าน Browser เหมือนบริการของ thai.net หรือ geocities.com แม้ไม่มีโปรแกรม WS_FTP หรือ CUTE_FTP แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง TCP/IP จะมีโปรแกรม c:\windows\ftp.exe ติดมาด้วย ทำให้สามารถ Download หรือ Upload ในแบบ Text mode ซึ่งมีฟังก์ชันที่จำเป็นครบ การใช้ FTP ได้ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับบริการของเครื่องบริการที่เปิดให้บริการ Web hosting และเปิดให้ใช้ FTP