ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านลบ
(Impact of Information Technology
on the negative side)
เด็กจิ๋วติด'แท็บเล็ต'อันตรายป่วยเรื้อรัง
เด็กจิ๋วติด'แท็บเล็ต'...อันตรายป่วยเรื้อรัง : ทีมข่าวรายงานพิเศษ
สืบเนื่องจากข่าวใหญ่ในประเทศอังกฤษ กรณีเด็กหญิงอายุแค่ 4 ขวบมีอาการติดไอแพดอย่างรุนแรง จนต้องเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองในเมืองไทยเริ่มกลัวจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกัน จากนโยบายแจก “1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน” อาจส่งผลทำให้เด็กชั้นป1.ทั่วประเทศไทยได้รับแจกแท็บเล็ตไปแล้วไม่ต่ำกว่า 8.6 เครื่อง ซึ่งการเล่นติดต่อกันหลายชั่วโมงจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจเด็กกลุ่มนี้ในอนาคต
นายวันชัย บุญประชา กรรมการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่าขณะนี้ผู้ปกครองสมาชิกเครือข่ายฯ ผู้มีลูกเรียนอยู่ป.1และได้รับแจกแท็บเล็ตแล้วตั้งแต่เทอมแรกของปีการศึกษา 2555 นั้น กำลังช่วยกันเก็บข้อมูลว่าการเล่นแท็บเล็ตหรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก จะส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างไร โดยเฉพาะด้านจิตใจ เช่น อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออก ฯลฯ ทางด้านร่างกายจะเน้นสุขภาพสายตาของเด็กว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง
ส่วนกรณีปัญหาที่เกิดกับเด็กหญิงวัย 4 ขวบในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษที่ติดการเล่นไอแพดหรือแท็บเล็ตยี่ห้อหนึ่งอย่างมาก ต้องเล่นวันละไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง หากไม่ได้เล่นจะร้องไห้ หงุดหงิด อารมณ์ไม่ดีนั้น นายวันชัย กล่าวว่า ปัจจุบันในเมืองไทยมีเด็กเล็กเล่นสื่อคอมพิวเตอร์จำนวนมากขึ้น ทางเครือข่าย ฯ พยายามให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของเครื่องเล่นประเภทนี้ รวมถึงการต่อต้านโครงการแจกแท็บเล็ตให้เด็กป.1ของรัฐบาลด้วย แต่ไม่ได้รับการตอบรับ ยังคงมีการแจกต่อไป ส่วนตัวแล้วคิดว่าเด็ก ป.1 ควรใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติ วิ่งเล่นใต้สายลมและแสงแดดมากกว่าจะก้มหน้าเล่นแท็บเล็ตทั้งวัน แม้มีประโยชน์ในการคุ้นเคยและรู้วิธีใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่จะส่งผลร้ายให้เด็กในอนาคต หากพ่อแม่ไม่มีความรู้ในการควบคุมดูแลอย่างถูกต้อง
"รัฐบาลแจกแท็บเล็ตให้เด็กป.1ผ่านไปไม่ถึง 6 เดือน อาจยังไม่เห็นผลร้ายต่อร่างกายและจิตใจเด็กอย่างชัดเจน คงต้องช่วยกันเฝ้าดูว่าผลระยะยาวจะออกมาอย่างไร ส่วนระยะเวลาการเล่นของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน บางโรงเรียนที่ใส่ใจเด็กจะเก็บแท็บเล็ตไว้ที่โรงเรียนไม่ให้เอากลับบ้าน และให้เด็กใช้บางชั่วโมงเรียนเท่านั้น เพื่อควบคุมไม่ให้เด็กติดมากเกินไป แต่บางโรงเรียนไม่สนใจ ให้เด็กเอากลับบ้านไปเล่นเต็มที่ ซึ่งอันตรายมาก อยากให้ครูและพ่อแม่ช่วยกันสอดส่องดูแลว่าเด็กๆ ใช้เวลาเล่นมากเกินไปหรือไม่ " นายวันชัยกล่าวเตือน
ทั้งนี้ แท็บเล็ต พีซี :Tablet PC (Tablet personal computer) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลพกพาได้ ขนาดเท่าสมุดโน้ตมีหน้าจอใช้นิ้วสัมผัสเพื่อสั่งงาน พร้อมอุปกรณ์ไร้สายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายไวไฟ ในเมืองไทยมีขายหลายยี่ห้อ เช่น ไอแพด แกแล็กซี่ สโคป โซนี่ เอเซอร์ ฯลฯ แม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ แต่นักจิตวิทยาก็อดห่วงถึงโทษภัยของมันไม่ได้ โดยเฉพาะกับเด็กๆ แท็บเล็ตอาจเป็นแหล่งเชื้อโรค หรือสิ่งที่มาเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้เด็กขี้หงุดหงิด ผลการเรียนตกต่ำ !!
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า พฤติกรรมติดแท็บเล็ตของเด็กเล็กและเด็กวัยรุ่นนั้น ไม่ต่างจากการติดเกมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ การพิจารณาว่าเด็กมีอาการติดสื่อเหล่านี้จนถึงขั้นรุนแรงหรือไม่นั้น ต้องเฝ้าสังเกต 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 1. "ระยะเวลา" ในการเล่น หากเล่นเกินวันละ 3 ชั่วโมงถือว่าอันตราย 2. "อารมณ์" หากไม่ได้เล่นจะอารมณ์เสีย หงุดหงิด ร้องไห้ หรือเมื่อเล่นแล้วไม่ยอมพูดจากับคนอื่นหรือไม่ 3. "พฤติกรรม" เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ชอบหาเรื่องทะเลาะกับคนในครอบครัว ไม่อยากเจอเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องผลการเรียน ผลสอบแย่ลงเรื่อยๆ แสดงว่าเด็กติดเกินไปแล้ว หากมีอาการติดอย่างหนัก ควรพามาพบผู้เชี่ยวชาญให้ช่วยกันหาวิธีเยียวยา ในแต่ละเดือนมีผู้ปกครองพาเด็กกลุ่มนี้มาเข้ารับการรักษาที่สถาบันฯ เป็นคนไข้รายใหม่ประมาณเดือนละ 10-20 ราย
"ต้องดูจากหลายปัจจัย เพราะเด็กบางคนถึงจะเล่นวันละหลายชั่วโมง แต่ไม่ได้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อารมณ์ดีเหมือนเดิม ยังพูดคุยเล่นกับเพื่อนตามปกติ แต่บางคนไม่ได้เล่นจะหงุดหงิด ไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น หากผลการเรียนแย่ลงด้วย ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด พยายามหากิจกรรมอื่นให้ทำ พ่อแม่ควรปรับปรุงตัวเองด้วย เพราะบางคนไม่มีเวลาเล่นกับลูก ไม่รู้ว่าจะให้เด็กใช้เวลาอย่างไรให้ถูกต้อง การรักษาเด็กติดสื่อคอมพิวเตอร์เหล่านี้ต้องหาต้นเหตุของปัญหาให้เจอ แล้วค่อยๆ ปรับพฤติกรรมของเด็ก"
สำหรับระยะเวลาการเล่นสื่อเทคโนโลยีให้เหมาะสมนั้น นพ.ทวีศิลป์ แนะนำว่า ไม่ควรเกินวันละ 1 ชั่วโมงสำหรับเด็กเล็ก โดยแบ่งเป็นครั้งละ 30 นาที เนื่องจากอวัยวะของเด็กเล็กควรมีการเคลื่อนไหวทุกสัดส่วน การนั่งก้มหน้าเล่นแท็บเล็ตนานๆ จะส่งผลเสียต่อต้นคอ มือ และสายตา ควรอนุญาตให้เล่นหลังจากทำการบ้านหรือไปออกกำลังกายเสร็จแล้ว ถือเป็นรางวัลพิเศษ
ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยา โครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ยอมรับว่าขณะนี้ปัญหาเด็กติดไอแพดหรือแท็บเล็ตกำลังสร้างความปวดหัวให้กับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ล่าสุดมีญาติๆ มาปรึกษากับตนว่าลูกหลานป่วยบ่อย เป็นหวัดไม่สบายเกือบทุกเดือน เมื่อเข้าไปศึกษาชีวิตประจำวันของเด็กกลุ่มนี้แล้ว พบว่าชอบนั่งเล่นไอแพดทั้งวัน ไม่ยอมทำอย่างอื่น ร่างกายจึงอ่อนแอ เนื่องจากธรรมชาติของเด็กเล็กต้องเคลื่อนไหวแขน ขา และเท้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรอยู่นิ่งๆ นั่งในท่าเดิมนานๆ เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อของร่างกาย หากเด็กไม่เคลื่อนไหวร่างกายก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ ไม่มีภูมิต้านทานเชื้อโรค ทำให้ป่วยบ่อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ
"เด็กบางคนมีอาการนอนกรนเสียงดังจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะร่ายกายเหนื่อยล้ากับการใช้สายตาจับจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละหลายชั่วโมง การที่เด็กนั่งเฉยๆ ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะไม่เหนื่อย เพราะถ้าต้องใช้สมองหรือใช้สมาธิจดจ้องอะไรต่อเนื่องนานๆ ร่างกายก็เหนื่อยล้าเช่นกัน เด็กเล็กควรใช้กำลังมากกว่าใช้สมอง พ่อแม่บางคนชอบให้ลูกเล่นของพวกนี้ เพราะจะได้นั่งนิ่งๆ อยู่เฉยๆ ไม่รบกวนวุ่นวาย หากลูกหลานใครมีอาการป่วยบ่อยให้ลองสังเกตว่าติดเครื่องเล่นพวกนี้หรือไม่ เล่นวันหนึ่งเกิน 1-2 ชั่วโมงหรือเปล่า วิธีแก้ไขเบื้องต้นต้องพาไปทำกิจกรรมอย่างอื่น เล่นกีฬา ดนตรี วิ่งเล่นกับเพื่อนๆ" ดร.วัลลภ กล่าวแนะนำ
นายวันชัย บุญประชา กรรมการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่าขณะนี้ผู้ปกครองสมาชิกเครือข่ายฯ ผู้มีลูกเรียนอยู่ป.1และได้รับแจกแท็บเล็ตแล้วตั้งแต่เทอมแรกของปีการศึกษา 2555 นั้น กำลังช่วยกันเก็บข้อมูลว่าการเล่นแท็บเล็ตหรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก จะส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างไร โดยเฉพาะด้านจิตใจ เช่น อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออก ฯลฯ ทางด้านร่างกายจะเน้นสุขภาพสายตาของเด็กว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง
ส่วนกรณีปัญหาที่เกิดกับเด็กหญิงวัย 4 ขวบในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษที่ติดการเล่นไอแพดหรือแท็บเล็ตยี่ห้อหนึ่งอย่างมาก ต้องเล่นวันละไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง หากไม่ได้เล่นจะร้องไห้ หงุดหงิด อารมณ์ไม่ดีนั้น นายวันชัย กล่าวว่า ปัจจุบันในเมืองไทยมีเด็กเล็กเล่นสื่อคอมพิวเตอร์จำนวนมากขึ้น ทางเครือข่าย ฯ พยายามให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของเครื่องเล่นประเภทนี้ รวมถึงการต่อต้านโครงการแจกแท็บเล็ตให้เด็กป.1ของรัฐบาลด้วย แต่ไม่ได้รับการตอบรับ ยังคงมีการแจกต่อไป ส่วนตัวแล้วคิดว่าเด็ก ป.1 ควรใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติ วิ่งเล่นใต้สายลมและแสงแดดมากกว่าจะก้มหน้าเล่นแท็บเล็ตทั้งวัน แม้มีประโยชน์ในการคุ้นเคยและรู้วิธีใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่จะส่งผลร้ายให้เด็กในอนาคต หากพ่อแม่ไม่มีความรู้ในการควบคุมดูแลอย่างถูกต้อง
"รัฐบาลแจกแท็บเล็ตให้เด็กป.1ผ่านไปไม่ถึง 6 เดือน อาจยังไม่เห็นผลร้ายต่อร่างกายและจิตใจเด็กอย่างชัดเจน คงต้องช่วยกันเฝ้าดูว่าผลระยะยาวจะออกมาอย่างไร ส่วนระยะเวลาการเล่นของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน บางโรงเรียนที่ใส่ใจเด็กจะเก็บแท็บเล็ตไว้ที่โรงเรียนไม่ให้เอากลับบ้าน และให้เด็กใช้บางชั่วโมงเรียนเท่านั้น เพื่อควบคุมไม่ให้เด็กติดมากเกินไป แต่บางโรงเรียนไม่สนใจ ให้เด็กเอากลับบ้านไปเล่นเต็มที่ ซึ่งอันตรายมาก อยากให้ครูและพ่อแม่ช่วยกันสอดส่องดูแลว่าเด็กๆ ใช้เวลาเล่นมากเกินไปหรือไม่ " นายวันชัยกล่าวเตือน
ทั้งนี้ แท็บเล็ต พีซี :Tablet PC (Tablet personal computer) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลพกพาได้ ขนาดเท่าสมุดโน้ตมีหน้าจอใช้นิ้วสัมผัสเพื่อสั่งงาน พร้อมอุปกรณ์ไร้สายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายไวไฟ ในเมืองไทยมีขายหลายยี่ห้อ เช่น ไอแพด แกแล็กซี่ สโคป โซนี่ เอเซอร์ ฯลฯ แม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ แต่นักจิตวิทยาก็อดห่วงถึงโทษภัยของมันไม่ได้ โดยเฉพาะกับเด็กๆ แท็บเล็ตอาจเป็นแหล่งเชื้อโรค หรือสิ่งที่มาเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้เด็กขี้หงุดหงิด ผลการเรียนตกต่ำ !!
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า พฤติกรรมติดแท็บเล็ตของเด็กเล็กและเด็กวัยรุ่นนั้น ไม่ต่างจากการติดเกมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ การพิจารณาว่าเด็กมีอาการติดสื่อเหล่านี้จนถึงขั้นรุนแรงหรือไม่นั้น ต้องเฝ้าสังเกต 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 1. "ระยะเวลา" ในการเล่น หากเล่นเกินวันละ 3 ชั่วโมงถือว่าอันตราย 2. "อารมณ์" หากไม่ได้เล่นจะอารมณ์เสีย หงุดหงิด ร้องไห้ หรือเมื่อเล่นแล้วไม่ยอมพูดจากับคนอื่นหรือไม่ 3. "พฤติกรรม" เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ชอบหาเรื่องทะเลาะกับคนในครอบครัว ไม่อยากเจอเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องผลการเรียน ผลสอบแย่ลงเรื่อยๆ แสดงว่าเด็กติดเกินไปแล้ว หากมีอาการติดอย่างหนัก ควรพามาพบผู้เชี่ยวชาญให้ช่วยกันหาวิธีเยียวยา ในแต่ละเดือนมีผู้ปกครองพาเด็กกลุ่มนี้มาเข้ารับการรักษาที่สถาบันฯ เป็นคนไข้รายใหม่ประมาณเดือนละ 10-20 ราย
"ต้องดูจากหลายปัจจัย เพราะเด็กบางคนถึงจะเล่นวันละหลายชั่วโมง แต่ไม่ได้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อารมณ์ดีเหมือนเดิม ยังพูดคุยเล่นกับเพื่อนตามปกติ แต่บางคนไม่ได้เล่นจะหงุดหงิด ไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น หากผลการเรียนแย่ลงด้วย ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด พยายามหากิจกรรมอื่นให้ทำ พ่อแม่ควรปรับปรุงตัวเองด้วย เพราะบางคนไม่มีเวลาเล่นกับลูก ไม่รู้ว่าจะให้เด็กใช้เวลาอย่างไรให้ถูกต้อง การรักษาเด็กติดสื่อคอมพิวเตอร์เหล่านี้ต้องหาต้นเหตุของปัญหาให้เจอ แล้วค่อยๆ ปรับพฤติกรรมของเด็ก"
สำหรับระยะเวลาการเล่นสื่อเทคโนโลยีให้เหมาะสมนั้น นพ.ทวีศิลป์ แนะนำว่า ไม่ควรเกินวันละ 1 ชั่วโมงสำหรับเด็กเล็ก โดยแบ่งเป็นครั้งละ 30 นาที เนื่องจากอวัยวะของเด็กเล็กควรมีการเคลื่อนไหวทุกสัดส่วน การนั่งก้มหน้าเล่นแท็บเล็ตนานๆ จะส่งผลเสียต่อต้นคอ มือ และสายตา ควรอนุญาตให้เล่นหลังจากทำการบ้านหรือไปออกกำลังกายเสร็จแล้ว ถือเป็นรางวัลพิเศษ
ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยา โครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ยอมรับว่าขณะนี้ปัญหาเด็กติดไอแพดหรือแท็บเล็ตกำลังสร้างความปวดหัวให้กับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ล่าสุดมีญาติๆ มาปรึกษากับตนว่าลูกหลานป่วยบ่อย เป็นหวัดไม่สบายเกือบทุกเดือน เมื่อเข้าไปศึกษาชีวิตประจำวันของเด็กกลุ่มนี้แล้ว พบว่าชอบนั่งเล่นไอแพดทั้งวัน ไม่ยอมทำอย่างอื่น ร่างกายจึงอ่อนแอ เนื่องจากธรรมชาติของเด็กเล็กต้องเคลื่อนไหวแขน ขา และเท้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรอยู่นิ่งๆ นั่งในท่าเดิมนานๆ เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อของร่างกาย หากเด็กไม่เคลื่อนไหวร่างกายก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ ไม่มีภูมิต้านทานเชื้อโรค ทำให้ป่วยบ่อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ
"เด็กบางคนมีอาการนอนกรนเสียงดังจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะร่ายกายเหนื่อยล้ากับการใช้สายตาจับจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละหลายชั่วโมง การที่เด็กนั่งเฉยๆ ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะไม่เหนื่อย เพราะถ้าต้องใช้สมองหรือใช้สมาธิจดจ้องอะไรต่อเนื่องนานๆ ร่างกายก็เหนื่อยล้าเช่นกัน เด็กเล็กควรใช้กำลังมากกว่าใช้สมอง พ่อแม่บางคนชอบให้ลูกเล่นของพวกนี้ เพราะจะได้นั่งนิ่งๆ อยู่เฉยๆ ไม่รบกวนวุ่นวาย หากลูกหลานใครมีอาการป่วยบ่อยให้ลองสังเกตว่าติดเครื่องเล่นพวกนี้หรือไม่ เล่นวันหนึ่งเกิน 1-2 ชั่วโมงหรือเปล่า วิธีแก้ไขเบื้องต้นต้องพาไปทำกิจกรรมอย่างอื่น เล่นกีฬา ดนตรี วิ่งเล่นกับเพื่อนๆ" ดร.วัลลภ กล่าวแนะนำ